14 January 2022

< 1 min read

เหงือกบวก เหงือกอักเสบ อาการและวิธีรักษา | Zenyum TH

เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมบางครั้งเราถึงมีกลิ่นปากทั้งๆที่ไม่ได้มีฟันผุหรือแผลในปาก สาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือเราอาจเผชิญกับปัญหาจากเหงือกอักเสบอยู่ก็เป็นได้ เหงือกบวม เหงือกอักเสบคืออะไร จะมีอาการแบบไหนบ้าง รักษาด้วยตนเองได้หรือไม่ เราไปหาคำตอบจากบทความนี้พร้อมๆกันเลยค่ะ

เหงือกอักเสบ หรือ Gingivitis, Gum Disease คือปัญหาโรคเหงือกมักเกิดจากติดเชื้อของคราบสกปรกและแบคทีเรียในช่องปาก เมื่อเกาะตัวเป็นเวลานานจะกลายเป็นหินปูนและไม่สามารถแปรงฟันเพื่อเอาออกได้ สุดท้ายก็กลายเป็นสาเหตุของเหงือกอักเสบไนที่สุด โรคเหงือกอักเสบปล่อยไว้ ไม่รับการรักษา จะทำให้กลายเป็นการอักเสบเรื้อรังและไม่รักษาให้หายขาดได้ และอาจทำให้การอักเสบลุกลามจนกลายเป็นภาวะปริทันต์ มีเหงือกบวมเป็นหนอง เหงือกร่น ฟันโยกคลอน และทำให้ฟันหลุดได้ในที่สุด

นอกจากนี้เครื่องมือจัดฟันยังเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มจัดฟันใหม่ๆอาจจะมีอาการบวมและปวดเหงือกได้ เนื่องจากในการจัดฟันจะทำให้ฟันเคลื่อนที่ มีแรงกดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เหงือกและกระดูกขากรรไกร ในช่วงที่ฟันเคลื่อนอาจทำให้เกิดการอักเสบขึ้นบริเวณรอบ ๆ ฟันจนทำให้เหงือกนั้นเกิดอาการบวมได้ อาการเหงือกบวมร่วมการจัดฟันนั้นอาจจะเป็นได้นานเป็นสัปดาห์ได้เลยทีเดียว ถือว่าเป็นเรื่องปกติ สัก 1-3 วันก็จะค่อย ๆ หายไปเอง

อาการเหงือกบวก เหงือกอักเสบ

เมื่อรู้จักแล้วว่าโรคเหงือกคืออะไรเกิดจากไหนได้บ้าง ทีนี่เราลองมาสำรวจอาการ และเฝ้าระวังอาการโรคเหงือกไปพร้อมๆกันค่ะ

อาการเหงือกอักเสบระยะแรก

จะมีอาการอักเสบ หรือบวมที่บริเวณเหงือกเป็นอาการเบื้องต้นของโรคเหงือก ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองและ อาจจะมีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย

อาการเหงือกอักเสบระยะที่สอง

เป็นระยะที่กระดูกและเนื้อเยื่อหุ้มฟันเริ่มถูกทำลาย เป็นอาการเริ่มต้นของโรคปริทันต์ เหงือกจะเริ่มร่นและเกิดเป็นโพรงใต้รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ทำให้เวลารับประทานอาหารเข้าไปเศษอาหารต่างๆจะเข้าไปติดตามซอกฟันได้ง่ายขึ้น

อาการเหงือกอักเสบระยะสุดท้าย 

ระยะนี้ถือเป็นอาการปริทันต์ขั้นรุนแรงหรือระยะเยื่อหุ้มฟันตอนปลายอักเสบ เป็นระยะที่เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่พยุงฟันได้ถูกทำลายไปจนหมด ทำให้เกิดอาการเหงือกบวม มีหนอง ฟันเคลื่อนหรือไม่เกาะแน่นเหมือนเดิม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวันได้

วิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบ

วิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบด้วยตนเอง

จริงๆแล้วหากเราเป็นโรคเหงือกอักเสบในระยะแรกหรือแค่มีอาการเบื้องต้นเท่านั้น เราสามารถรักษาด้วยตังเองได้ง่ายๆ ดังนี้

  • แปรงฟันให้ถูกวิธีเป็นประจำทุกวันอย่างน้อย วันละ 3 ครั้งหลังมื้ออาหาร
  • ควรเลือกยาสีฟันที่สามารถขจัดคราบพลัคจากแบคทีเรีย และลดการอักเสบได้
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรต์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์
  • ใช้ไหมขัดฟันในทุกๆวัน โดยเฉพาะหลังมื้ออาหารเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย วันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย
  • หากมีอาการเหงือกบวมให้ใช้น้ำแข็งหรือผ้าชุบเย็นมาประคบเพื่อบรรเทาอาการปวด

วิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบโดยทันตแพทย์

สำหรับบางคนที่มีอาการเหงือกบวมหรือมีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ หรืออาการเลยระยะแรกไปแล้ว ก็จำเป็นต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและยับยั้งความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในช่องปากได้ 

  • ทันตแพทย์มักจะให้ยาปฏิชีวะนะมารับประทานเพื่อรักษาภาวะเหงือกติดเชื้อ
  • ทันตแพทย์จะทำการเกลารากฟันหรือขูดคราบฟัน เพื่อขจัดคราบหินปูนที่ติดอยู่ตามซอกฟัน
  • ทันตแพทย์จะให้รอดูอาการ 4-6 สัปดาห์ หากไม่ดีขึ้นจะต้องใช้วิธีการผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ : Periodontal Surgery) ร่วมด้วย

เห็นแล้วใช่ไหมละคะว่าหากเราเป็นโรคเหงือกอักเสบโดยที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการจัดฟันละก็จะต้องเจอกับอะไรบ้าง เชื่อว่าไม่มีใครอยากเจอกับตัวเองแน่ๆ เพราะไม่เพียงแต่จะต้องทนอาการปวด เสียเวลาทำการรักษา แต่อาจจะส่งผลให้ต้องสูญเสียฟันของเราไปตลอดกาลเลยก็เป็นได้

โรคเหงือกอักเสบสามารถป้องกันได้ถ้าเราดูแลความสะอาดเป็นอย่างดี และไม่ละเลยการไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอหรืออย่างน้อย 6 เดือนครั้ง เพราะนอกจากทันตแพทย์จะช่วยตรวจสุขภาพช่องปากของเราให้เรามั่นใจแล้ว ยังสามารถช่วยเราทำความสะอาดฟันอย่างล้ำลึกด้วยการขูดหินปูนอีกด้วย

คุณอาจชอบ...

ภาษา

เหงือกบวก เหงือกอักเสบ อาการและวิธีรักษา | Zenyum TH

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์

免責聲明

本設備或軟件不會用作任何醫療用途(包括任何醫療狀況或疾病的檢測、診斷、監測、管理或治療)。 此設備或軟件提供的任何與健康相關的信息不應被視為醫療建議。 請諮詢醫生以獲取所需的任何醫療建議。

This site is registered on wpml.org as a development site.